วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 10และ11 ก.พ. 53

อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการสอนในหน่วยต่างๆที่นักศึกษาได้ทำมา พร้อมกับส่งแผนการสอนในหน่วยนั้น แล้วอาจารย์ก็ให้คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิควิธีการสอนว่าควรทำอย่างไร ในแต่ละระดับชั้นของเด็กปฐมวัย แล้วควรสอดแทรกคณิตศาสตร์ลงไปตรงไหนถึงจะดี

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 4 ก.พ 2553

อาจารย์ตรวจแผนและให้คำแนะนำกับนักศึกษา

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 28 ม.ค. 2553

อาจารย์ตรวจแผนพร้อมให้คำแนะนำกับนักศึกษา

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 21 ม.ค. 2553

ส่ง MindMap ที่เป็นกระดาษเสร็จอาจารย์ก็ให้ทำMindMapจากโปรแกรมส่งMail ให้อาจารย์แล้วเอาลงบล็อกด้วย และสั่งงานให้นักศึกษา แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน เลือกแผนที่ดีที่สุดมาหนึ่งแผนส่งMail ให้อาจารย์ จะได้ทั้งหมด 6 กลุ่ม แบ่งครึ่งเป็นกลุ่ม A เป็นกลุ่ม B กลุ่ม Aได้เรื่องแมลง กลุ่ม Bได้เรื่อง ดอกไม้
แล้วเขียนแผนส่ง Mail ให้อาจารย์

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 14 ม.ค. 2553

อาจารย์ได้สอนการทำ MindMap ก่อนเขียนแผน พร้อมทั้งยกตัวอย่าง "หน่วยตัวเรา" ให้นักศึกษาดู
หน่วยตัวเราก็จะมี
1. ข้อมูลส่วนตัว
2. ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
3. เด็กดี
- มีวินัย
- ซื่อสัตย์ สุจริต
4. ร่างกาย
- อวัยวะ
- การรักษาสุขอนามัย
- การออกกำลังกาย
5. ฯลฯ

และหน่วยอาหาร
อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
- ประเภท
- ประโยชน์และโทษ
- การประกอบอาหาร
- มารยาทในการรับประทานอาหาร
* ใช้ตัวชี้วัดสาระทางคณิตศาสตร์ที่มีในหน่วย*

โดยดูจาก 4 หัวข้อใหญ่ว่าแผนที่เราเขียนอยู่ในหัวข้อไหน
1. หน่วยตัวเรา
2. บุคคลและสถานที่รอบตัว
3. ธรรมชาติรอบตัว
4. สิ่งต่างๆรอบตัว

จากนั้นอาจารย์ได้สั่งงานให้นักศึกษาเขียน MindMap จากหน่วยต่างๆจากแผนแล้วแต่นักศึกษาจะทำหน่วยไหน (งานเดี่ยว)

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 7 ม.ค. 2553

หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัฒนาการเด็ก ธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็ก และขอบข่ายของหลักสูตรที่ลึกซึ้งแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วย เช่น
1.สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2.เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ "พบคำตอบด้วยตนเอง"
3.มีเป้าหมายและการวางแผนเป็นอย่างดี
4.เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนการสอนและลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5.ใช้วิธีการรจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติกรรมเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
6.ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
7.รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8.ใช้วิธีการสอนแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยากๆ
9.ใช้วิธีสอนให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข
10.วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11.บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสมำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุง
12.คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
13.เน้นการเล่นจากง่ายไปยาก

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้
1.การนับ
2.ตัวเลข
3.การจับคู่
4.การจัดประเภท
5.การเปรียบเทียบ
6.การจัดลำดับ

7.รูปทรงและเนื้อที่
8.การวัด
9.เซต
10.เศษส่วน
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย
12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ

สรุป

ความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
“คณิต” หมายถึง การนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ
“คณิตศาสตร์” หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณหรือตำรา
คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ว่าด้วยนามธรรม ที่อาศัยสัญลักษณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาแทนนามธรรม ภาษาคณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจโลก และสรรพสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับ ปริมาณ จำนวน ตำแหน่ง มิติ และเวลา เด็กปฐมวัยเรียนรู้คณิตศาสตร์มิใช่เฉพาะเรื่องจำนวน และตัวเลข เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ได้ดีด้วยการสังเกต เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของที่มากกว่าหรือน้อยกว่า สั้น-ยาว สูง- ต่ำ ใหญ่-เล็ก หนัก-เบา ลำดับ เพิ่ม-ลด หรือแม้แต่ปริมาตรมาก-น้อย ของสิ่งที่บรรจุในภาชนะ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องหรือของจริงใกล้ตัว เด็กจะเห็นเป็นรูปธรรมทำให้เข้าใจได้ง่าย

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นการวิชาที่เกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ สามารถสร้างสรรค์คนให้มีนิสัยละเอียดสุขุมรอบคอบและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์ ( 2551: 28-29 ) กล่าวว่า กิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรู้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหากิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นการประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล
คณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด็กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้น มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดึงการเปรียบเทียบ การวัด และตัวเลข เช่น “เอาอันที่ใหญ่สุดให้หนูนะ” “หนูจะเอาอันกลม ๆ นั่นละ” “โอ้โฮ อันนี้ราคาตั้ง 10 บาท” ประโยคเหล่านี้ล้วนน่าสนใจและแสดงถึงการใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีทักษะและความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

จุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์
นิตยา ประพฤติกิจ (2541: 17 – 19)กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
1.เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การ บวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
2.เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ
3.เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
4.เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน
5.เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
6.เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
1.การนับ
2.ตัวเลข
3.การจับคู่
4.การจัดประเภท
5.การเปรียบเทียบ
6.การจัดลำดับ
7.รูปทรงและเนื้อที่
8.การวัด
9.เซต
10.เศษส่วน
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย
12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (แม้รูปร่างจะเปลี่ยนแปลงไปแต่เด็กสามารถบอกปริมาณได้)

บันทึกการเรียน วันที่ 17 ธ.ค. 2552

อาจารย์ให้นักศึกษาสรุปเนื้อหาของแต่ละกลุ่มลงในบล๊อกและให้นักศึกษาแต่ละคนไปศึกษาค้นคว้าของเพื่อนแต่ล่ะกลุ่มแล้วร่วมกันแสดงความคิดเห็น และให้นำส่วนประกอบต่างๆมาใส่บล็อกให้เรียบร้อย เช่น วิจัย บทความ สมาชิก สื่อ ฯลฯ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 19 พ.ย. 2552

อาจารย์ได้สนทนาเรื่องงานในคาบที่แล้วแต่นักศึกษาไม่ได้ส่งงานในทาง E-Mail ให้อาจารย์ อาจารย์จึงได้หารือ กับ นักศึกษาว่าจะทำอย่างไรเมื่อนักศึกษาไม่ส่งงานและอาจารย์ได้พูดถึงการไป สังเกตการสอนในโรงเรียนต่างๆว่าควรทำอย่าง เช่น การแต่งการที่ถูกระเบียบ การสังเกตการสอนนักศึกษาควรเก็บข้อมูลด้วยการถ่ายภาพ ถ่ายวีดีโอ หรือการจดบันทึก และ อาจารย์ได้ให้นักศึกษา ร้องเพลงที่ตนร้องได้ และอาจารย์ได้สอนร้องเพลงพร้อมทั่งเปิดเพลงจากคอมพิวเตอร์ให้ฟัง เพื่อให้นักศึกษานำไปใช้ในการสังเกตการสอน และอาจารย์ได้แบ่งนักศึกษาที่จะออกไปสังเกตที่โรงเรียนต่างๆ
ตัวอย่างบ้างเพลงที่ร้อง
1. เพลงเข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถว อย่าลำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือน เดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังจะเดินขนกัน เข้าแถวพลัน ว่องไว
2. เพลงจัดแถว
สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า แล้วเอามาอยู่ในท่ายืนครง
3. เพลงซ้ายขวา
ยืนให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 12 พ.ย. 2552

อาจารย์สั่งงานให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มประมาณ 4-5 คนต่อกลุ่ม กลุ่มดิฉันได้เรื่องสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันหาข้อมูลแล้วส่ง mail ให้อาจารย์โดยเขียนชื่อกำกับว่าใครหาตรงไหน

สื่อคณิตศาสตร์
ความหมายของสื่อการสอน
สิริมณี บรรจง (ออนไลน์) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง อุปกรณ์ หรือเทคนิควิธีการสอนต่างๆที่ช่วยจัดการเรียนรู้ ให้เด็กปฐมวัยให้สามารถเรียนรู้ได้ง่าย และดีขึ้น เช่น บัตรคำ เทปนิทาน เป็นต้น
สื่อการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้
สิริมณี บรรจง (ออนไลน์) ได้รวบรวมแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
1. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ของฟรอเบล
ฟรอเบล เน้นสร้างสื่อการสอนที่เป็นเครื่องเล่น เพราะจุดเน้นในการจัดการเรียนรู้ของฟรอเบล คือการกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้ ดังนั้น เขาจึงผลิตชุดอุปกรณ์ขึ้นมา 2 ชุด เรียกว่า 1.ชุดของขวัญ หรือ Gift Set 2.ชุดอุปกรณ์การงานอาชีพ สื่อการสอนของเฟอรเบลจะใช้เพื่อพัฒนาความสามารถทางสติปัญญา และกระตุ้นให้เด็กใช้พัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
2. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ของมอนเตสซอรี่
เน้นส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความสามารถ และความสนใจของตนเอง โดยครูเป็นผู้จัดเตรียมสภาพแวดล้อมให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้มากที่สุด ซึ่งอุปกรณ์การเรียนรู้ของมอนเตสซอรี่นี้จะกอบด้วยชุดอุปกรณ์การเรียนรู้ 3 กลุ่มได้แก่
1. กลุ่มประสบการณ์ชีวิต เช่น ร้อยลูกปัด แต่งตัว เช็ดกระจก เป็นต้น
2. กลุ่มประสาทสัมผัส เช่น แยกความแตกต่าง ของสี กลิ่น เสียงได้
3.กลุ่มวิชาการ เช่นเข้าใจ ตัวเลข สัญลักษณ์
3. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิด ไฮสโคป
เน้นให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้เด็กเล่นกับวัสดุโดยตรง เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย สื่อการสอนนั้นควรเน้นให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น การจำแนกวัสดุ - สิ่งของ จำนวน เวลา เป็นต้น
4. สื่อการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษา
เน้นการใช้ของจริง และสามารถนำไปใช้เพื่อฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านต่างๆ ได้ เช่น บล็อกต่างๆ สื่อการฝึกนับ รูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ปฏิทิน นาฬิกา เป็นต้น
ตัวอย่างสื่อคณิตศาสตร์
ไม้บล็อค
ความหมายของการเล่นไม้บล็อค
กัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545: 19-20) ได้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับไม้บล็อคในแง่มุมต่างๆไว้ ดังนี้
ไม้บล็อคเป็นเครื่องเล่นที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะเป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทาน สามารถหยิบจับได้สะดวก และสามารถนำมาสร้างเป็นสิ่งต่างๆตามความพอใจได้ เป็นเครื่องเล่นที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้อย่างมาก
ไม้บล็อคมีรูปทรงและขนาดต่างๆกัน มีทั้งที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า สามเหลี่ยม วงกลม ครึ่งวงกลม รูปโค้ง มีทั้งขนาดเล็กละใหญ่ ตัวทึบและกลวง ถ้าเป็นไม้บล็อกใหญ่จะเป็นแบบกลวง เพื่อไม่ให้น้ำหนักมากเกินไป เด็กจะได้เคลื่อนย้ายได้สะดวก (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.2525 : 211)
ไม้บล็อคเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์และให้ความสนุกอย่างมากที่พบในชั้นเรียนของเด็กก่อนวัยเรียน มีหลากหลายรูปร่างหลายขนาด ผลิตจากวัสดุหลายชนิด สามารถใช้เล่นอย่างเดียวหรือนำไปประกอบ รวมเข้ากับอุปกรณ์อย่างอื่น ซึ่งนำมาถึงความสนุกสนาน การละเล่น อย่างไม่มีขีดจำกัด (Eva Essa. 1996 : 293)
ความสำคัญและคุณค่าของการเล่นไม้บล็อค
การเล่นไม้บล็อค ในด้านคุณค่าทางการศึกษา ดังนี้
1. ให้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น กว้าง ยาว สั้น สูง หนา มากขึ้น น้อยลง
2. เด็กเรียนรู้รูปทรงต่างๆ เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ครึ่งวงกลมและทรงกระบอก
3. ให้พื้นฐานทางด้านฟิสิกส์ เด็กจะเรียนรู้ว่า จะใช้แท่งไหนก่อนตรงไหน จึงจะรับน้ำหนักกันได้
4. ฝึกประสาทสัมผัสตากับมือ
5. ฝึกความคิดสร้างสรรค์
6. พัฒนาด้านภาษา
7. พัฒนาด้านอารมณ์ สังคม
8. ปลูกฝังลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์
9. เด็กจะเรียนรู้และฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
(กัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545: 20-21) อ้างจาก ภรณี คุรุรัตนะ. 2535 : 19)
สรุปได้ว่า ในการเล่นไม้บล็อกนั้นเด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เช่น ขนาด รูปร่าง การนับ การจำแนก เมื่อได้เล่นไม้บล็อกเด็กจะเรียนรู้ความหมายของแต่ละจำนวน เรียนรู้เกี่ยวกับชื่อของไม้บล็อกในแต่ละอัน และเรียนรู้การแก้ปัญหา เช่น การสร้างสะพานต้องเลือกความยาวของไม้บล็อคที่เหมาะสม
เกมการศึกษา
ความหมายของเกมการศึกษา
วัลนา ธรจักร. (2544: 32) ได้รวบรวมความหมายของเกมการศึกษาไว้ดังนี้
สำนักงานประถมศึกษากรุงเทพมหานคร (2527 : 5) กล่าวว่า เกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้เพื่อเป็นพื้นฐานการศึกษา เกมการศึกษามุ่งเน้นให้เด็กได้ใช้สติปัญญาในการสังเกต คิดหาเหตุผลและแก้ปัญหาโดยพยายามฝึกใช้เวลาสั้นที่สุด
กรมวิชาการ (2540 : 44) กล่าวว่า เกทมการศึกษาเป็นเกมท ช่วยพัฒนาสติปัญญา มีกฏเกณฑ์ กติกาง่ายๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มได้
สรุปความหมายของเกมการศึกษาได้ว่า เกมการศึกษา เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน และเป็นกิจกรรมที่สนองต่อความต้องการตามวัยของเด็กด้วย
ประเภทของเกมการศึกษา
วัลนา ธรจักร. (2544: 33-36) อ้างจาก สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ (2541 : 145-153) กำหนดประเภทของเกมการศึกษาออกเป็นดังนี้
1. เกมจับคู่
2. เกมภาพตัดต่อ
3. เกมโดมิโน
4. เกมเรียงลำดับ
5. เกมการจัดหมวดหมู่
6. เกมหาความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับสัญลักษณ์
7. เกมหาภาพที่มีความสัมพันธ์ลำดับที่กำหนด
8. เกมการสังเกตรายละเอียดของภาพ (ลอตโต)
9. เกมหาความสัมพันธ์แบบอุปมาอุปไมย
10. เกมพื้นฐานการบวก
11. เกมจับคู่ตารางสัมพันธ์ (เมตริกเกม)
สรุปได้ว่า เกมการศึกษาเป็นกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา นอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ฝึกทักษะการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และภาษา เกมการศึกษามีหลายรูปแบบการจัดเกมการศึกษาให้เด็กได้เล่นต้องคำนึงถึง ความสามารถตามวัยของเด็กด้วย
สรุป
สื่อการสอนคณิตศาสตร์มีความจำเป็นในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก เพราะเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ทางด้านรูปธรรม มากกว่านามธรรม ดังนั้น ในการใช้สื่อคณิตศาสตร์สอนเด็ก ครูควรจะเน้นให้เด็กลงมือกระทำ คิด และแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
อ้างอิง
กัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545). การศึกษาความพร้อมทางภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ชั้นปฐมวัย จากการจัดกิจกรรมการเล่นไม้บล็อก. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จงรัก อ่วมมีเพียร. (2547). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมสื่อผสม. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วัลนา ธรจักร. (2544). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาประกอบการประเมินสภาพจริง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สิริมณี บรรจง. การแก้ปัญหา วันที่4 สรุปบทเรียน วิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. (ออนไลน์) แหล่งที่มา: http://learners.in.th/blog/sasitorn-edu3204/189188. วันที่สืบค้น12 พฤศจิกายน 2552.

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 5 พ.ย. 2552

อาจารย์ให้เปิดบล็อก Mathematic Experiences for Early Childhood และจะต้องมี
1. วิจัยคณิตศาสตร์
2. หน่วยงานให้ความรู้
3. นิทรานคณิตศาสตร์
4. เพลงคณิตศาสตร์
5. บทความคณิตศาสคร์
6. สมาชิกภายในห้องเรียน
7. VDO คณิตศาสตร์
8. นาฬิกา
9. บันทึกการเข้าเรียนทุกครั้ง